
ตั้งงบประมาณก่อสร้างบ้านให้ชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ต้องรู้ เพราะงบประมาณเป็นตัวกำหนด พื้นที่ใช้สอย สไตล์บ้าน และ วัสดุที่เลือกใช้ การตั้งงบประมาณจะช่วยให้งบไม่บานปลายในภายหลัง
วิธีตั้งงบประมาณเบื้องต้น
- รู้งบในใจ แต่ไม่รู้ว่าจะได้บ้านสไตล์ไหน พื้นที่ใช้สอยเท่าไหร่
- รู้ว่าต้องต้องการบ้านขนาดไหน พื้นที่เท่าไหร่ แต่ไม่รู้ว่าต้องใช้งบเท่าไหร่
รู้งบในใจ แต่ไม่รู้ว่าจะได้บ้านสไตล์ไหน พื้นที่ใช้สอยเท่าไหร่
อยากรู้ว่า มีงบเท่านี้ จะสร้างบ้านได้ประมาณไหน ? เงินที่มีจะเป็นตัวแจกแจงว่าจะได้พื้นที่ใช้สอยเท่าไหร่ ปัจจุบันค่าเฉลี่ยในการสร้างบ้าน (ปี 2567) เริ่มต้นที่ 12,400 – 16,300 บาท ต่อ ตร.ม. (อ้างอิงตามราคามาตรฐานราคากลาง) htts://www.thaiappraisal.org/thai/value/value.phpp เช่น มีงบ 1 ล้านบาท สามารถสร้างบ้านได้ 66 ตร.ม. (1,000,000 หาร 15,000 ต่อ ตร.ม.)เมื่อได้พื้นที่รวมแล้ว ก็มาเฉลี่ย ขนาดของห้องต่างๆที่ต้องการ (เจ้าของบ้านสามารถกำหนดพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการ ตามวิถีการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเจ้าของบ้านได้เลยค่ะ)
รู้พื้นที่ใช้สอยภายใน แต่ไม่รู้งบสร้างบ้าน
เช่นเดียวกันกับรู้งบสร้างบ้านแต่ไม่รู้พื้นที่ใช้สอย กรณีรู้พื้นที่ใช้สอย นำพื้นที่ คูณ ราคากลาง ก็จะทราบงบประมาณคร่าวๆในการสร้างบ้าน เช่น พื้นที่ใช้สอย 100 ตร.ม. คูณราคากลาง 15,000 บาท ต่อ ตร.ม. ราคาบ้านเบื้องต้นหลังละ 1.5 ล้านบาท
เมื่อมีงบประมาณ ทราบพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการแล้ว ก็อย่าลืมเลือกแบบบ้านที่เหมาะสมกับงบที่มีนะคะ

ตัวอย่าง บ้านเดี่ยวชั้นเดียว 2 ห้องนอน 60 ตร.ม.
- ห้องนอน 1 Master – 14 ตร.ม.
- ห้องนอน 2 – 13 ตร.ม.
- ห้องเอนกประสงค์ 20 ตร.ม.
- ห้องน้ำ 6 ตร.ม.
- ระเบียง (ทางเข้าหน้าบ้าน) 7 ตร.ม.
ผลรวมพื้นที่เฉพาะตัวบ้าน 60 ตร.ม. ไม่รวมทางเดินรอบบ้าน ทางเดินภายในบริเวณบ้าน ซักล้าง รั้ว

บ้านหลังนี้ ใช้งบ 1 ล้านโดยประมาณ เลือกใช้วัสดุมุงหลังคา SCG prestige แผ่นเรียบ วัสดุโครงสร้าง มาตรฐาน มอก
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ราคาสูง กลาง ต่ำ ต่างกันอย่างไร ราคาบ้านขึ้นอยู่กับสไตล์บ้าน โครงสร้าง วัสดุที่เราเลือกใช้ ซึ่งมีผลทำให้ราคาบ้านแตกต่างกัน (สูง-กลาง-ต่ำ) ตัวอย่างเช่น วัสดุมุงหลังคา มีตั้งแต่ กระเบื้องหลังคาคอนกรีตลอนต่างๆ หรือ หลังคาคอนกรีตแผ่นเรียบ ราคาก็จะสูงกว่า ผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกัน แต่ละแบรนด์ราคาก็ไม่เท่ากัน และมีสเปคให้เลือกหลายราคา ในขณะที่ หลังคาเมทัลชีทราคาก็อาจะต่ำกว่า สเปคที่สูงขึ้น เช่นรีดแผ่นความร้อน หรือ เทคโนโลยี่ที่สูงขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้น หลังคาใส่ฉนวนกันความร้อนหรือไม่ใส่ ก็เป็นประเด็น ก็มีผลต่อราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ก็แลกมากับการลดความร้อนให้ตัวบ้าน

เหล่านี้คือสิ่งที่เราควรรู้ และตั้งงบก่อสร้างบ้านเบื้องต้นให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องงบบานปลาย
